กมธ. ร่าง พ.ร.บ. ค้างาช้าง เลือก “พิไลพรรณ” นั่งประธาน
โดย ClickNLASeized shipment of illegal African elephant tusks, Thailand © James Morgan |
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ. การค้างาช้าง พ.ศ. …. โดยมี นายสถิตย์ สวินทร เป็นประธานชั่วคราว เพื่อเลือกประธานฯ รองประธานฯ และกำหนดกรอบการทำงาน โดยที่ประชุมมีมติแต่งตั้งตำแหน่งในคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
๑. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ | ประธานคณะกรรมาธิการฯ |
๒. นายสถิตย์ สวินทร | รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่หนึ่ง |
๓. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่สอง |
๔. พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ | รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่สาม |
๕. ศาสตราจารย์สนิท อักษรแก้ว | โฆษกคณะกรรมาธิการฯ |
๖. นายประมุท สูตะบุตร | ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ |
๗. นางเตือนใจ นุชดำรง | เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ |
๘. นางสาวพรทิพพา เจริญผล | ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ |
ขอบคุณ ข่าวจาก www.click.senate.go.th
สนช. มีมติวาระ3 ให้ร่างพระราชบัญญัติการค้างาช้าง ประกาศใช้เป็นกฎหมาย
โดย เรณู เขมาปัญญา |ข่าวรัฐสภา | 21 พฤศจิกายน 2557 เวลา 16:21 น.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติวาระ3 ให้ร่างพระราชบัญญัติการค้างาช้าง พ.ศ. ... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย พร้อมเพิ่มโทษผู้ค้างาช้างผิดกฎหมาย ให้จำคุก 3 ปี ปรับ 6,000,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติวาระ3 ให้ร่างพระราชบัญญัติการค้างาช้าง พ.ศ. ... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 169 ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4
ร่างพระราชบัญญัติการค้างาช้าง มีทั้งหมด 21 มาตรา โดยในวาระ2 การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการฯ ได้มีการแก้ไขในหลายส่วน โดยเฉพาะได้มีการ แก้ไขเพิ่มโทษผู้ที่กระทำผิดฝ่าฝืนพระราชบัญญัติในการค้างาช้าง นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านงาช้าง จากเดิมที่ให้จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็น ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพื่อให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในการป้องกันการนำช้างป่ามาสวมสิทธิจดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะ และเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้อภิปรายในประเด็นบทกำหนดโทษว่า การกำหนดโทษกับผู้กระทำผิดในบางมาตรายังขาดความเหมาะสม อีกทั้งในหลายมาตราที่เป็นบทกำหนดโทษ ยังมีความขัดแย้งกันเอง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แก้ไขโดยปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านงาช้าง จากเดิมที่ฉบับละ 5,000 บาท เป็น ฉบับละ 50,000 บาท ตามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับการขอใบอนุญาตให้ค้างาช้าง ที่ฉบับละ 50,000 บาท เช่นกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไทยไม่สนับสนุนการค้างาช้าง และกีดกันการค้างาช้าง
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตโดยเสนอต่อที่ประชุมฯ ให้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. .... เพื่อให้มีความหมายที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการสอดรับกับขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมายที่มิได้ควบคุมเพียง เฉพาะการค้างาช้างเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการครอบครอง การนำเข้า การส่งออก และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงาช้าง ขณะเดียวกันได้เสนอให้แก้ไขหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติ เพื่อให้หมายรวมถึงการควบคุมการค้า การครอบครอง การนำเข้า การส่งออก และการนำผ่านซึ่งงาช้างและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์ พาหนะ และผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้างภายในประเทศไม่ให้ปะปนกับงาช้างที่ ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) พร้อมทั้งเสนอปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการออกตัวรูปพรรณใหม่ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยให้กรมการปกครองต้องกำหนดให้จ้าของช้างที่เป็นสัตว์พาหนะลงรหัสพันธุกรรม ช้าง (DNA) ของช้างแต่ละเชือกลงในตัวรูปพรรณช้างรูปแบบใหม่และสมควรออกตัวรูปพรรณช้าง พาหนะรูปแบบให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2558 เพื่อป้องกันการสวมตัวรูปพรรณช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ และช้างป่า ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งที่ประชุมฯ มีมติเห็นด้วยกับข้อสังเกตดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะนำเสนอข้อสังเกตดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไป
ขอบคุณ ภาพและข่าวจาก ข่าวรัฐสภา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น